วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา Telecommunication for Education


1.โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง

ตอบ       คือการขยายขอบเขตของการสื่อสารให้มีผลในระยะไกล ในทางปฏิบัติแล้ว เรายอมรับว่าเมื่อมีการขยายขอบเขตดังกล่าวแล้ว อะไรบางอย่างอาจต้องมีการสูญเสียไป ดังนั้นคำว่า โทรคมนาคม นั้น จะรวมถึงรูปแบบทั้งหมดของการสื่อสารดั้งเดิม ที่มีการดัดแปลงหรือปรับปรุงให้สามารถสื่อสารได้ระยะไกล ซึ่งรวมถึง วิทยู โทรเลข โทรทัศน์  การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์  
                โทรคมนาคมมีประโยชน์ทางการศึกษา คือ ช่วยขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนในที่ห่างไกลได้จากการเรียนผ่านโทรทัศน์  สามารถส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม เป็นต้น ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ

2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook

ตอบ        Facebook ก็สามารถเป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาได้  เพราะเป็นการผสมผสานของสัญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันในแบบ Real Time ระหว่าง กลุ่ม หรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน และทำให้ผู้ที่ห่างกันสามารถติดต่อสื่อสาร รับข้อมูลข่าวสารกันและกันได้อย่างรวดเร็ว 

ประโยชน์ของ facebook                1. Facebook สามารถส่งสารสนเทศในรูปแบบต่างๆได้ทั้ง ตัวอักษร รูปภาพ และวีดิโอ                2. Facebook ทำให้บุคคลสามารถติดต่อสื่อสารกันได้หลายช่องทางทั้งการโพสต์ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอบนกระดาน การแชท และการใช้วีดิโอคอล                3. Facebook ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารภายในกลุ่มเพราะสามารถสร้างกลุ่มพูดคุยกันได้ ทั้งนี้ยังสามารถตั้งเป็นกลุ่มปิดเพื่อการพูดคุยเฉพาะสมาชิก                4. Facebook เป็นแหล่งนำเสนอข้อมูลที่มีผู้รับชมมาก สามารถใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆได้ เช่น ขอรับความช่วยเหลือด่วน                  5. Facebook ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพราะสามารถใช้ติดต่อกันได้ระหว่างบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่อยู่ห่างไกลกัน


3.นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง

ตอบ        2 วิธี คือ
                1)ระบบ DSTV ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ

               2)ระบบ CATV   เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 


4.ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ          ประโยชน์ ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม คือ เป็นการศึกษาที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-Of-Charge Web-Based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น  


5.นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม

ตอบ          การส่งสัญญาดาวเทียมไทยคมจากโรงเรียนวังไกลกังวล (หัวหิน) ประจวบคีรีขันธ์ ไปถึงทุกโรงเรียนทั่วประเทศเกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ เพื่อการศึกษามีคุณภาพเท่าเทียมกันทั้งประเทศ และแก้ปัญหา อาทิ เช่น ครูขาดแคลน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี นอกจากนี้ ครูโรงเรียนไกลกังวนได้ศึกษานอกสถานที่เพื่อถ่ายทอดเป็นความรู้ รายการและได้รับพระราชทานชื่อรายการว่า ศึกษาทัศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงได้สอนเรื่องดินและฝนหลวงในรายการศึกษาทัศน์นี้อีกด้วย

6.ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog

ตอบ  






วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

1. สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ มีทั้งหมด 6 ประเภท

     1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ

      2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท

     3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย

     4. วิทยุโทรทัศน์  เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย

     5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
     6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว



2. คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ วิลเบอร์ ชแรมม์ นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัดดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสื่อมวลชนในด้านการศึกษาว่า สื่อมวลชน นอกจากจะให้ความบันเทิงใจแก่ผู้รับ ซึ่งเป็นงานหลักของสื่อมวลชนแล้ว ยังให้ความรู้ความคิดแก่ประชาชนได้เป็นอันมาก สื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง (Parallel School) ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียนจากคุณสมบัติด้านต่างๆ ของสื่อมวลชน ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สามารถสรุป คุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ
      1. กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
      2. ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
     3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
     4. คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3 ประเภทคือ
               4.1 ความหลากหลาย
               4.2 ความทันสมัย
            4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที
     5. ความสะดวกในการรับ
     6. การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก  จากผลกระทบที่เกิดจากสื่อมวลชนในด้านต่างๆ ดังกล่าว จำเป็นจะต้องจัดให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชนในทุกๆด้าน โดยจัดการศึกษา "สื่อมวลชนศึกษา" ขึ้นความหมายของสื่อมวลชนศึกษา หมายถึงการศึกษาหรือการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ การทำงาน และอิทธิพลของสื่อมวลชน ทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ ประเมิน ตัดสินคุณค่าของสื่อ มีปฏิกิริยาตอบโต้สื่ออย่างมีเหตุผล สื่อมวลชนศึกษายังเป็นการฝึกทักษะการนำเสนอสื่อ การผลิตสื่อในระดับที่ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดข้อมูล ความคิดเห็น ความต้องการ ผ่านสื่อได้อย่างเหมาะสม


3. ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการพร้อมอธิบายประโยชน์รายการนั้นๆ



ตอบ ใช้เป็นสื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้  เป็นการประหยัดงบประมาณในการสอนที่เป็นวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ เช่น  ชอล์ก  กระดาษ  เป็นต้น  ช่วยประหยัดเวลาทำให้ผู้เรียนผู้สอนสามารถเรียนรู้ได้คราวละมากๆได้ในเวลาอันรวดเร็ว  สะดวกในการเรียนรู้  ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถเรียนรู้ได้  อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนครูสอนได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีทางการศึกษา


1. ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยี

             ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี” 
              เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) 

ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา

              เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
              - วัสดุ
              - อุปกรณ์ 
              - วิธีการ
              สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น 
               ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน 
               Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ 
               นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
                 1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
                 
 ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
                 2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว 



2. ความคาดหวังต่อการเรียนรายวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา

       1. การขยายขอบเขตของทรัพยากรการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวาง
ออกไปอีก 
       2. ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองไม่ว่าจะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
       3. การเรียนการสอนไม่ล้าสมัยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
       4. การเรียนการสอนจะช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณ
       5. ผู้เรียนได้รับความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกยุคสมัย

3. ภาพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการศึกษา

เด็กๆชอบ tablet

         ภาพนี้เป็นภาพเด็กๆกำลังใช้แท็บเล็ตที่ได้รับจากรัฐบาลเป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง  ซึ่งถือว่าแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์สื่อกลางซึ่งต้องใช้โสตทัศนศึกษา  เป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิค  อุปกรณ์และวิทยาการสมัยใหม่  ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กให้ดีและกว้างขวางยิ่งขึ้น